ทันตกรรมรักษารากฟัน

(Endodontics)

การรักษารากฟัน เป็นกระบวนการรักษาฟันที่มีการติดเชื้อภายในโพรงประสาทฟันและคลองรากฟัน ซึ่งสาเหตุโดยส่วนใหญ่มาจากฟันผุ จะช่วยกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ทำให้สามารถเก็บรักษาฟันไว้ใช้งานต่อไปได้ โดยไม่ต้องถอนทิ้งและใส่ฟันปลอมทดแทน
โพรงประสาทฟันและคลองรากฟันนั้น เป็นช่องว่างทางภายภาพที่อยู่ภายในฟัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นเลือด เส้นประสาท เนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆที่มาเลี้ยงฟันซี่นั้น ๆ

 

โพรงประสาทฟัน คืออะไร?

โพรงประสาทฟัน คือ ชั้นที่อยู่ด้านในสุดของฟัน ที่ประกอบด้วย เส้นประสาทของฟัน เส้นเลือดที่มาเลี้ยง รวมถึงท่อน้ำเหลือง ทำให้เมื่อมีฟันผุลุกลามมาในชั้นโพรงประสาทฟัน จึงทำให้เกิดการอาการปวดฟันที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น เชื้อโรคจะกระจายลงสู่ปลายรากฟัน และทำให้รากฟันอักเสบ

 
 
 

คลองรากฟัน คืออะไร?

คลองรากฟัน คือ โครงสร้างฟันชั้นในสุดของตัวฟันเป็นที่อยู่ของโพรงประสาทและเนื้อเยื่อขนาดเล็ก อยู่บริเวณใจกลางฟันประกอบไปด้วยเส้นประสาท และเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง รวมถึงท่อน้ำเหลืองคนที่ฟันผุมากจึงเกิดอาการปวดฟัน เพราะเชื้อลุกลามมาในคลองรากฟันทำให้รากฟันอักเสบจนต้องรักษาคลองรากฟัน

 
 
 

ถอนฟัน หรือ รักษารากฟัน

การรักษารากฟันทันตแพทย์จะพิจารณาเป็นเคส ๆไป ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียกินเนื้อฟันเข้าไปลึกเท่าไหร่ และมีแบคทีเรียมากแค่ไหน หากการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันไม่มากเกินกว่าการรักษา ก็จะสามารถรักษารากฟัน เพื่อช่วยเก็บรักษาฟันให้คงอยู่ในช่องปากต่อไปได้ โดยไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป
  • ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงฟัน
  • ฟันแตก หรือหักทะลุโพรงฟัน
  • ฟันแตก หรือหักไม่ทะลุโพรงฟัน แต่เนื้อฟันที่เหลืออยู่ไม่สามารถบูรณะได้
  • มีหนองเกิดขึ้นบริเวณปลายราก
  • ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุ่นแรงจนเกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน

!!5 สัญญาณเตือน ต้องรักษารากฟัน!!

  • ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ  อาการปวดฟัน บางครั้งอาจจะเป็นอาการปวดฟันเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากอาการปวดนั้น มีอาการอยู่เรื่อย ๆ ปวดตุบ ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการเช่นนี้ ไม่ควรเพิกเฉยควรเข้าพบทันตแพทย์
  • ปวดฟันระหว่างกัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร : ในระหว่างกัด เคี้ยวอาหาร ผลไม้หรือน้ำแข็ง แล้วรู้สึกปวดฟัน ปวดลึกจนถึงเหงือก
  • รู้สึกเสียวฟันมาก เวลาทานของร้อนและของเย็น : รับประทานอาหารทั้งของร้อน และของเย็น เช่น น้ำชาร้อนๆ ไอศกรีมเย็น ๆ แล้วมีอาการเสียวฟันจิ๊ดขึ้นมาจนถึงเสียวมากจนไม่สามารถทนได้
  • ปวดและเหงือกบวมจากอาการเหงือกติดเชื้อ : ฟันได้รับการกระทบกระแทกจนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
  • ฟันมีรอยร้าว หรือมีอาการผุอย่างรุนแรงกว่าเก่า : เป็นสัญญาณว่าใกล้จะได้เวลารักษารากฟันเป็นที่แน่นอน เพราะส่วนใหญ่อาการแบบนี้หมายถึง ฟันแตก หรือฟันผุมากจนทะลุโพรงฟัน
  1. ตรวจฟันและเอกซเรย์ ทันตแพทย์จะตรวจฟันของคุณโดยละเอียด และส่งคุณไปเอกซเรย์ฟัน เพื่อประเมินตำแหน่ง และการติดเชื้อว่ามีการลุกลามไปมากน้อยแค่ไหน
  2. ฉีดยาชา ก่อนทำการรักษาคุณหมอจะฉีดยาชาให้ ทำให้คุณไม่เจ็บปวดระหว่างทำการรักษารากฟัน (ในบางกรณีหากเนื้อเยื่อในคลองรากฟันตายแล้ว คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องเจ็บตัวฉีดยาชา)
  3. กรอเปิดโพรงประสาทฟัน เนื้อฟันจะถูกกรอเปิด ให้เห็นโพรงประสาทฟัน เพื่อทำการรักษาต่อ
  4. ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ ทันตแพทย์จะกำจัดเอาแบคทีเรีย หนอง และเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออก หลังจากล้างทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อเรียบร้อย คุณหมอจะอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว
  5. ทำการรักษาซ้ำจนกว่าจะหาย การรักษารากฟันจะไม่เสร็จในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะนัดคุณเข้ามาตรวจเช็คพร้อมทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าการติดเชื้อหมดไป โดยส่วนมากคุณต้องเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง
  6. บูรณะฟันขึ้นมาใหม่ เมื่อมั่นใจว่าการติดเชื้อหมดไปแล้ว คุณหมอจะบูรณะฟันของคุณด้วยการอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดถาวร หรือการทำครอบฟัน หลังจากนั้นจะนัดติดตามอาการเป็นระยะ

การปฏิบัติตัวหลังรักษารากฟัน

  • คุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพียงรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อน เพื่อป้องกันคุณกัดลิ้น หรือกระพุ้งแก้มขณะเคี้ยว อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง รวมถึงเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด
  • คุณอาจมีอาการตึงๆ อยู่บ้างในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากนั้นอาการปวดควรจะหายไป หากคุณยังมีอาการปวดอยู่หลายวัน เราแนะนำให้คุณติดต่อทันตแพทย์ เพื่อทำนัดเข้ามาตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
  • คุณสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen ได้ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  • มาตรวจติดตามอาการตามนัดของทันตแพทย์ รวมทั้งดูแลทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการรักษารากฟัน

  • แปรงฟันให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ ควบคู่กับการแปรงฟัน
  • ทำความสะอาดบริเวณที่การแปรงฟันเข้าถึงยาก
  • บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ลดเชื้อแบคทีเรีย
  • ควรเข้าพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก หรือควรเข้ารับการรักษารากฟัน ทันทีเมื่อมีอาการ ก่อนที่ฟันผุจะทะลุโพรงประสาท