บริการทันตกรรมโรคเหงือกปริทันต์

(Periodontics)

การทำศัลยกรรมตกแต่งเหงือก อาจทำเพื่อช่วยรักษาโรคปริทันต์หรือแก้ไขสภาพเหงือกเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างรอบ ๆ ฟัน เพื่อความสวยงามที่ดีขึ้น ขั้นตอนในการรักษาคือการตัด(เหงือก) จากด้านในและด้านรอบ ๆ ฟัน เพื่อให้ได้รูปทรงร่องเหงือกโดยรวมที่เหมาะสมมาก
ศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อความสวยงาม
ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพื่อความสวยงามโดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความยาวของฟันหรือมิติของฟันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาก่อนที่จะทำการบูรณะฟัน โดยการทำครอบฟันหรือวีเนียร์ ซึ่งทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องกรอฟันของคนไข้
ศัลยกรรมปลูกเหงือก
การปลูกเหงือกมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภาวะเหงือกร่นและในบางกรณีใช้เพื่อลดภาวะเหงือกร่นที่เป็นอยู่ไม่ให้แย่ลงการปลูกเหงือกที่ประสบความสำเร็จจะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนในการตรวจที่ดี เช่นเดียวกันกับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพของช่องปากด้วย

 
 
 

อาการของโรคเหงือก

อาการของโรคเหงือกอาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกและมักส่งผลกระทบต่อผิวเหงือก โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของเหงือกและฟัน คนไข้อาจมีเลือดออกที่เหงือกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน มีอาการกดเจ็บที่เหงือก และเหงือกบวมแดง ทั้งนี้ เหงือกอักเสบสามารถรักษาได้โดยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดแบคทีเรียและคราบพลัคบนผิวฟัน ซึ่งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นในเวลาต่อมา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
เกิดขึ้นเมื่อภาวะเหงือกอักเสบไม่ได้รับการรักษา ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดร่องลึกระหว่างเหงือกและรากฟัน รวมทั้งอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียที่บริเวณนั้น ๆ จนเนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกรที่ยึดเหงือกและฟันเอาไว้ด้วยกันได้รับความเสียหาย และทำให้สูญเสียฟันได้ในที่สุด

โรคปริทันต์

เกี่ยวข้องกับการสะสมของคราบหินปูน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน(root planning) ร่วมด้วย คำว่า เกลารากฟันนี้ อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้น แปลไทย เป็นไทยได้ว่า ทำผิวรากฟันให้เรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) คือการกำจัดคราบหินปูน และคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟันให้หมด จนได้ผิวรากฟันที่เรียบแข็งช่วยให้เหงือก กลับมายึดได้ดีขึ้น

รู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการโรคเหงือกปริทันต์?

สัญญาณบ่งบอกของโรคเหงือกปริทันต์ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ได้แก่

  • มีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน
  • เหงือกบวมแดงอักเสบ เลือดออกง่าย บางครั้งอาจมีหนองที่เหงือกแบบเป็นๆ หายๆ
  • เหงือกรัดคอฟันไม่แน่น เหงือกร่น หรือร่องเหงือกลึก
  • รู้สึกปวดหรือระคายเคืองเหงือก โดยเฉพาะเวลาเคี้ยวอาหาร
  • ตัวฟันยื่นยาวออกจากเหงือก หรือฟันห่างจนเกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน
  • มีกลิ่นปาก
  • ฟันโยก

การรักษาที่เกี่ยวข้องกับเหงือก ประกอบด้วย

การขูดหินปูนและเกลารากฟัน

การขูดหินปูนและเกลารากฟัน คือ การทำความสะอาดเหงือกที่ช่วยลดการอักเสบของเหงือกและช่วยรักษาโครงสร้างของฟัน การทำความสะอาดเหงือกมักใช้กับการรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติในช่องปาก หากมีการเจริญเติบโตในเหงือกเป็นจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียที่เป็นอันตราย โดยสิ่งนี้จะไปกระตุ้นร่างกายซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในเหงือกได้ โดยการอักเสบเรื้อรังของเหงือกจะทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกและเกิดเหงือกร่นได้ หากเป็นโรคปริทันต์หรือมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบ กรุณาพบทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือกและปริทันต์ อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพของเหงือก

การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก

การทำศัลยกรรมตกแต่งเหงือก อาจทำเพื่อช่วยรักษาโรคปริทันต์หรือแก้ไขสภาพเหงือกเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างรอบ ๆ ฟัน เพื่อความสวยงามที่ดีขึ้น ขั้นตอนในการรักษาคือการตัด(เหงือก) จากด้านในและด้านรอบ ๆ ฟัน เพื่อให้ได้รูปทรงร่องเหงือกโดยรวมที่เหมาะสมมาก

ศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อความสวยงาม

ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพื่อความสวยงามโดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความยาวของฟันหรือมิติของฟันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาก่อนที่จะทำการบูรณะฟัน โดยการทำครอบฟันหรือวีเนียร์ ซึ่งทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องกรอฟันของคนไข้

ศัลยกรรมปลูกเหงือก

การปลูกเหงือกมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภาวะเหงือกร่นและในบางกรณีใช้เพื่อลดภาวะเหงือกร่นที่เป็นอยู่ไม่ให้แย่ลงการปลูกเหงือกที่ประสบความสำเร็จจะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนในการตรวจที่ดี เช่นเดียวกันกับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพของช่องปากด้วย

การป้องกันโรคเหงือกปริทันต์

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เน้นแปรงบริเวณฟันและรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก โดยควรใช้แปรงสีฟันหัวเล็กที่มีขนแปรงนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน เพราะแปรงสีฟันเก่าจะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟันลดลงและอาจทำให้เหงือกเกิดการบาดเจ็บได้
  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัดหากต้องใช้เครื่องมือทำความสะอาดฟันอย่างไหมขัดฟัน แปรงสำหรับซอกฟัน หรือเครื่องมืออื่น ๆ
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรับประทานอาหาร เพราะช่วยขจัดเศษอาหารตามซอกฟันและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดคราบพลัคที่ฟันได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
  • งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้ช่องปากเกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปากได้